PEA
ส่งเสริมหลักเกณฑ์
การคิดค่าไฟฟ้า
สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Low Priorty
ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และมติคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ภายใต้เงื่อนไขการบริหารจัดการแบบ Low Priority ที่สามารถควบคุมปรับลดหรือตัดการใช้ไฟฟ้าของสถานีอัดประจุไฟฟ้า กรณีเกิดข้อจำกัดทางเทคนิคของระบบจำหน่ายไฟฟ้า
ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้าสถานีอัดประจุไฟฟ้า
สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Low Priorty
- ยื่นคำร้องและเอกสารประกอบการขอใช้ไฟฟ้า
- แบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้า กฟภ.
- แบบฟอร์มการขอใช้ใช้ไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า (เพิ่มเติม)
- เอกสารหลักฐานประกอบการขอใช้ไฟฟ้า (บุคคล/นิติบุคคล/หน่วยงานรัฐ)
- เอกสารหลักฐานด้านวิศวกรรม
- แผนผังสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Layout of EV Charging Station)
- แผนภูมิระบบไฟฟ้า (Single Line Diagram) แสดงการจัดวางและการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ทั้งหมดโดยละเอียด โดยมีวิศวกรไฟฟ้าที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากสภาวิศวกรลงนามรับรอง
- ตารางโหลด (Load Schedule) และรายการคำนวณทางไฟฟ้าที่มีวิศวกรไฟฟ้าที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากสภาวิศวกรลงนามรับรอง
- แบบแสดงการติดตั้งฐานรากและนั่งร้านหม้อแปลง และมีวิศวกรโยธาลงนามรับรอง
- ข้อมูลทางเทคนิคของอุปกรณ์อื่นๆ เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า รีเลย์ป้องกัน เซอร์กิตเบรกเกอร์ เครื่องตัดไฟรั่ว เป็นต้น
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่เกี่ยวข้อง
- ข้อมูลทางเทคนิค (Specification) ของเครื่องอัดประจุไฟฟ้า
- ข้อมูลทางเทคนิคของระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Energy Storage System) หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอื่นๆ (ถ้ามี)
- เอกสารแสดงการขึ้นทะเบียนเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากับ กฟภ. (รายละเอียดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน สามารถดาวน์โหลดจาก QR code ด้านลาง)
- ใบอนุญาตขอประกอบกิจการจำหน่ายไฟฟ้าหรือหนังสือรับแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ จำหน่ายไฟฟ้า (สถานีอัดประจุไฟฟ้า)
- ชำระเงิน ค่าธรรมเนียมขอใช้ไฟฟ้า, หลักประกันการใช้ไฟฟ้า, ค่าบริการตรวจวัดและทอดสอบสถานีอัดประจุไฟฟ้า
- ตรวจสอบมาตรฐานการติดตั้งระบบอัดประจุไฟฟ้าตามมาตรฐานที่ กฟภ. กำหนด
- จัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและติดตั้ง/สับเปลี่ยน/เพิ่มขนาดมิเตอร์
* กรณีไม่ใช่มิเตอร์ TOU ดำเนินการสับเปลี่ยนมิเตอร์
- ตรวจวัดและทดสอบระบบอัดประจุไฟฟ้า
- ตรวจวัดและทดสอบความปลอดภัยของระบบอัดประจุไฟฟ้า *กรณีให้ กฟภ. เป็นผู้ดำเนินการ
- ทดสอบสถานะการอัดประจุไฟฟ้า *กรณีให้ กฟภ. เป็นผู้ดำเนินการ
- ทดสอบการควบคุมปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้าโดยการรับและส่งข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการระบบควบคุมและบริหารจัดการสถานีอัดประอุไฟฟ้า (CPO) และระบบควบคุมและบริหารจัดการ ระบบอัดประจุไฟฟ้าของ กฟภ. (PEA EVMS)
- เริ่มต้นใช้อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้เงื่อนไขการบริหารจัดการแบบ Low Priority
* โดยต้องได้รับเอกสารใบอนุญาตหรือหนังสือรับแจ้งประกอบกิจการพลังงานจาก กกพ.
เอกสารและมาตรฐานการติดตั้งระบบอัดประจุไฟฟ้าตามมาตรฐานที่ กฟภ. กำหนด
การติดตั้งทางไฟฟ้าสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับสถานประกอบการ ดูเอกสาร
ยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้า ฯ แบบ Low priority ได้ที่
สำนักงานใหญ่ PEA กรุงเทพ ฯ
แผนกระบบงานบริการลูกค้า ชั้น 2 อาคาร 2
เบอร์โทรศัพท์ภายใน 02-0096725
เบอร์โทรศัพท์มือถือ 083-8676769
สำนักงานเขต PEA ทั้ง 12 แห่ง
แผนกบริการและงานธุรกิจ
สำนักงาน PEA ทั่วประเทศ
แผนกบริการลูกค้า แผนกบริการลูกค้าและการตลาด
สำนักงานใหญ่ PEA กรุงเทพ ฯ
แผนกระบบงานบริการลูกค้า ชั้น 2 อาคาร 2
เบอร์โทรศัพท์ภายใน 02-0096725
เบอร์โทรศัพท์มือถือ 083-8676769
สำนักงานเขต PEA ทั้ง 12 แห่ง
แผนกบริการและงานธุรกิจ
สำนักงาน PEA ทั่วประเทศ
แผนกบริการลูกค้า แผนกบริการลูกค้า
และการตลาด